fbpx
Image

สำนักหอสมุด ถือกำเนิดและจัดตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี 2531 โดยมีที่ทำการอยูชั้น 3  ของอาคารเรียนรวมและศูนย์วิทยาการ วิทยาเขตศรีปงชัย มีพื้นที่ 504 ตารางเมตร จัดให้บริการนักศึกษา คณาจารย์โรงเรียน พาณิชยการและเทคโนโลยี สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ 150 ที่นั่ง

 -  พ.ศ. 2533 ได้ย้ายห้องสมุดจากวิทยาเขตศรีปงชัยไปอยู่วิทยาเขตดอยพระบาทบริเวณชั้นล่างของตึกคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มีพื้นที่ประมาณ 224 ตารางเมตร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ 104 ที่นั่ง

-  พ.ศ. 2534 ได้ขยายการดำเนินงาน โดยเพิ่มห้องสมุดคณะศิลปะศาสตร์และนิเทศศาสตร์ บริเวณชั้นล่างตึกคณะ- ศิลปศาสตร์และนิเทศศาสตร์ มีพื้นที่ประมาณ 96 ตารางเมตร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ 22 ที่นั่ง

 -  พ.ศ. 2537 เดือนพฤศจิกายน ได้ย้ายห้องสมุดคณะทั้ง 2 แห่ง คือ ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ และห้องสมุดคณะศิลปศาสตร และนิเทศศาสตร์ มารวมกัน ณ อาคารอเนกประสงค์โดยจัดให้บริการหนังสือทั่วไป ภาษาอังกฤษ บริเวณชั้น 1 สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ 130 ที่นั่งและจัดให้บริการหนังสือทั่วไปภาษาไทย หนังสืออ้างอิง วารสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์พิเศษ โสตทัศนวัสดุ บริเวณชั้น 2 มีจำนวนที่นั่งอ่าน 70 ที่นั่ง (โดยจัดแยกบริการหนังสืออ้างอิง และหนังสือ ปริญญาโทบริหารธุรกิจและปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดบริการในห้องหลังเคาน์เตอร์ชั้น  2 มีจำนวนที่นั่งอ่าน 24 ที่นั่ง)

-  พ.ศ. 2538 เดือนเมษายน ได้ย้ายหนังสือของสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ไปจัดไว้บริเวณ ชั้น 2 ของอาคาร คณะ บริหารธุรกิจชุมพล พรประภา ห้อง 1206 สามารถบริการแก่ผู้ใช้ 22 ที่นั่ง ได้ริเริ่มโครงการหอจดหมายเหตุวิทยาลัยโยนก, ห้องสมุดเฉพาะดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์, ห้องสมุดเฉพาะ’รงค์ วงษ์สวรรค์ และห้องสมุดเฉพาะ วปรอ

-  พ.ศ. 2542 ให้บริการอินเตอร์เน็ตในสำนักหอสมุด

- พ.ศ. 2543 เริ่มนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้เป็นครั้งแรก โดยนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่พัฒนาโดยอาจารย์จรัส อติวิทยาภรณ์ โรงเรียนเทคโนโลยีสงขลา จังหวัดสงขลา

-  พ.ศ. 2544 นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows ของบริษัทคอมพิวเตอร์ซิสเต็ม คอนชัลติ้ง จำกัด มาทดลองใช้ในงานฐานข้อมูลหนังสือและบริการยืม-คืนหนังสือด้วยบาร์โค้ด

-  พ.ศ. 2545 นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows ของบริษัทคอมพิวเตอร์ซิสเต็มคอนชัลติ้ง จำกัด มาทดลองใช้ในงานวารสารพ.ศ. 2546 เดือนกุมภาพันธ์ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารต่อเติมสำนักหอสมุด ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ซึ่งเป็นห้องสมุดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่จะรวบรวมชีวประวัติและผลงานของดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้อย่างครบถ้วน สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเดือนมกราคม 2547

-  พ.ศ. 2547 เดือนพฤษภาคม ได้ย้ายห้องอินเทอร์เน็ต, ห้องหนังสืออ้างอิง ไปอยู่บริเวณชั้น 2 อาคารต่อเติมฯ และได้ย้ายงานโสตทัศนูปกรณ์, งานวารสารและหนังสือพิมพ์ ไปอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารต่อเติมสำนักหอสมุด และได้เพิ่มที่นั่งแก่ผู้อ่านเพิ่มขึ้น รวมเป็น จำนวน 1,152 ตารางเมตร มีจำนวนที่นั่งทั้งหมด 280 ที่นั่ง

-  พ.ศ. 2548 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการงานหอสมุด เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ได้ดำเนินการจัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows  ของบริษัทคอมพิวเตอร์ซิสเต็มคอนชัลติ้ง จำกัด มาใช้ในการจัดการงานหอสมุด เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างสะดวก อาทิ บริการยืม-คืนด้วยระบบบาร์โค้ด บริการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นต้น

-  พ.ศ. 2550 เมื่อปลายปี 2550 มหาวิทยาลัยได้มีแนวคิดให้สำนักหอสมุดดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการหอสมุดใหม่โดยการจัดวางชั้นหนังสือแยกออกเป็นคณะวิชาต่าง ๆ ดังนี้ 
       บริเวณชั้น 1 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 
       บริเวณชั้น 2 คณะบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการค้นหาหนังสือของนักศึกษาในแต่ละคณะ อีกทั้งยังสามารถทราบจำนวนหนังสือในแต่ละคณะได้อย่างชัดเจน

-  พ.ศ. 2552 ได้ปรับเปลี่ยนระบบการจัดชั้นหนังสือให้เป็นระบบสากลโดยจัดเรียงตามหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)

-  พ.ศ 2553 สำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นงานหอสมุด สังกัดสำนักหอสมุด และได้ปรับเปลี่ยนการจัดชั้นหนังสือภาษาอังกฤษ โดยแยกหนังสือภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ขึ้นไป ย้ายไปอยู่ที่ห้อง 5108, ห้อง 5108/1 (ห้องสัมมนา 1), ห้อง 5108/2 (ห้องสัมมนา 2) ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1990 – ปัจจุบัน ให้บริการ บริเวณชั้น 1