fbpx
Image

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ Bachelor of Public Administration Program in Public Administration

หลักการและเหตุผล
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ตระหนักถึงความสำคัญที่จะผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการ ความรู้ ความสามารถทางวิชาการกับบริบทของสังคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาคน พัฒนากำลังคน พัฒนางาน พัฒนาอาชีพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามกรอบและทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ประเทศไทย 4.0  ยุทธศาสตร์จังหวัดตามแผนและนโยบายของรัฐ และ สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย


โอกาสในการประกอบอาชีพ
   1. นักบริหาร ในองค์กรภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และ ภาคเอกชน

   2. นักปกครององค์การบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
   3. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
   4. ข้าราชการตำรวจ/ทหาร
   5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรม
   6. นักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
   7. เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
   
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ

   2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง หรือ
   3. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากสถาบันที่กระทรวง ศึกษาธิการ และ ก.พ. ให้การรับรอง

 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
   ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
   ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public Administration

ชื่อปริญญา
   ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
   ภาษาไทย (ชื่อย่อ) : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
   ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
   ภาษาอังกฤษ (ชื่อย่อ) : B.P.A. (Public Administration)

รายละเอียดวิชา
   1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
      1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10 หน่วยกิต
      1.2 กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
      1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
      1.4 กลุ่มวิชาเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 หน่วยกิต
   2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 94 หน่วยกิต
      2.1 กลุ่มวิชาแกน 39 หน่วยกิต
      2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 39 หน่วยกิต
      2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 16 หน่วยกิต
   3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
   รวมตลอดหลักสูตร 130 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
   1. 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
   1.1
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 10
หน่วยกิต
       CIVI 100 อารยธรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์ 2 (2-0-4)
       ECON 100 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2 (2-0-4)
       LAWS 102 กฎหมายทั่วไป 2 (2-0-4)
       SOCU 100 สังคมและวัฒนธรรม 2 (2-0-4)
       TAPS 100 การคิด การสื่อสารและการแก้ปัญหา 2 (2-0-4) 

   1.2 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 12 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้
       ENCO 101 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
       ENCO 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5)
       ENCO 201 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
       ENCO 202 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
       THAC 101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1 3 (1-4-4)
       THAC 102 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2 3 (1-4-4)
       THAC 201 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
       THAC 202 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
       ASEN 101 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
       ASEN 102 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5) 

   1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
       MATH 100 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2 (2-0-4)
       TECH 100 สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (2-0-4)
       SCIE 100 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต 2 (2-0-4) 

   1.4 กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จำนวน 2 หน่วยกิต
       LEAC 100 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 1 1 (0-3-2)
       LEAC 200 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 1 (0-3-2)

   2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 94 หน่วยกิต
   2.1 วิชาแกน  39  หน่วยกิต

       PUAD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ 3(3-0-6)
       PUAD 102 ปรัชญาทางรัฐประศาสนศาสตร์ 3(3-0-6)
       PUAD 103 องค์การและการบริหาร 3(3-0-6)
       PUAD 104 การบริหารราชการไทย 3(3-0-6)
       PUAD 201 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3(3-0-6)
       PUAD 202 ภาวะผู้นำในการบริหารภาครัฐและเอกชน 3(3-0-6)
       PUAD 203 การบริหารและการปกครองท้องถิ่นไทย 3(3-0-6)
       PUAD 204 การตลาดสำหรับภาครัฐ 3(3-0-6)
       PUAD 205 การบริหารการคลังสาธารณะ  3(3-0-6)
       PUAD 206 จริยธรรมสำหรับนักบริหาร  3(3-0-6)
       PUAD 207 กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง 3(3-0-6)
       PUAD 208 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการในยุคดิจิตัล 3(3-0-6)
       PUAD 301  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3(3-0-6)

   2.2 วิชาเอก 55 หน่วยกิต
   2.2.1 วิชาเอกบังคับ    39   หน่วยกิต

       
PUAD 211 กฎหมายอาญา 1 3(3-0-6)
       PUAD 311 กฎหมายอาญา 2 3(3-0-6)
       PUAD 312 การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ 3(3-0-6)
       PUAD 313 การบริหารการพัฒนา 3(3-0-6)
       PUAD 314 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
       PUAD 315 หลักการและยุทธศาสตร์การบริหารท้องถิ่น 3(3-0-6)
       PUAD 316 สถานการณ์โลกปัจจุบัน 3(3-0-6)
       PUAD 317 นโยบายสาธารณะ 3(3-0-6)
       PUAD 318 การบริหารโครงการเชิงยุทธศาสตร์ 3(3-0-6)
       PUAD 319 นวัตกรรมกับการบริหาร 3(3-0-6)
       PUAD 320 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3(3-0-6)
       PUAD 321 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ 3(3-0-6)
       PUAD 481 สัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ 3(3-0-6)

   2.2.2 วิชาเอกเลือก 16   หน่วยกิต
     
PUAD 331 พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ 3(3-0-6)
       PUAD 332 การจัดการความขัดแย้งและการมีส่วนร่วมของประชาชน 3(3-0-6)
       PUAD 333 การวางแผนกำลังคนและการสรรหา 3(3-0-6)
       PUAD 334 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3(3-0-6)
       PUAD 335 การบริหารค่าตอบแทน 3(3-0-6)
       PUAD 336 การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3(3-0-6)
       PUAD 337 แรงงานสัมพันธ์ 3(3-0-6)
       PUAD 338 กฎหมายลักษณะพยาน 3(3-0-6)
       PUAD 339 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 3(3-0-6)
       PUAD 340 เศรษฐกิจชนบท 3(3-0-6)
       PUAD 341 หลักการและการวางแผนพัฒนาชุมชน 3(3-0-6)
       PUAD 342 การจัดการวิสาหกิจชุมชน 3(2-2-5)
       PUAD 343 ยุทธศาสตร์การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3(3-0-6)
       PUAD 344 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
       PUAD 345 ไทยกับความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้าน 3(3-0-6)
       PUAD 346 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์ 3(2-2-5)
       PUAD 391 การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา 1(1-0-0)
       PUAD 491 การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 6(0-40-0)

        หรือ

       กลุ่มวิชา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์  7   หน่วยกิต   ประกอบด้วย
       WILP 191 การเตรียมความพร้อมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์   1(1-0-0)
       WILP 192 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์  1 2(2-40-0)
       WILP 291 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์  2 2(2-40-0)
       WILP 391 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์  3 2(2-40-0)

   3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

         ให้เลือกจากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเนชั่น โดยไม่ซ้ำซ้อนกับรายวิชาที่ได้เรียนมาแล้วโดยการเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

 

Image